ประวัติบ้านสร้างแป้น
ผู้จัดทำมีความประสงค์รวบรวมข้อมูลบ้านสร้างแป้นเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาโดยมีเจตคติที่ดีต่อชุมชนรักษ์ท้องถิ่นสืบสานต่อยอดรักษาประเพณีและวัฒนธรรมชุมชนบ้านสร้างแป้น เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการสืบค้นของชนรุ่นหลัง หากเนื้อหามีความบกพร่องผิดพลาดประการใดขออภัย ณ ที่นี้ พร้อมน้อมรับคำแนะนำ เพื่อจะนำมาแก้ไขและปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ผู้จัดทำหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ได้ศึกษาเป็นอย่างดียิ่ง
ขอขอบคุณทุกคนที่มีส่วนร่วมจากภาพถ่ายจากกลุ่ม (Facebook บ้านสร้างแป้นหมู่1,12) ผมมองเห็นว่าภาพถ่ายสามารถนำมาสร้างเป็นระบบระเบียบและเรียบเรียงข้อมูลบันทึกความทรงจำประวัติศาตร์บ้านสร้างแป้น เพื่อให้ชนรุ่นหลังมีจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นอนุรักษ์สถานที่สาธารณะประโยชน์ รักษาจารีตประเพณีขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของชุมชนบ้านสร้างแป้นให้คงอยู่สืบไป
ตำนานเรื่องเล่า
บ้านสร้างแป้นมีตำนานเล่าต่อกันมาว่ามีพระสงฆ์ชื่อหลวงปู่จันทร์ขี่ช้างมาจากบ้านโนนลาน(บ้านลานปัจจุบัน)ผ่านเข้ามาในเขตหมู่บ้านสร้างแป้นออกไปทางทิศตะวันตกด้วยระยะทางไกลช้างหิวน้ำ หลวงปู่จันทร์จึงได้จูงลงกินน้ำลงในส่าง เหตุไม่คาดคิดช้างได้เกิดติดดุลหรือโคลนดินดูด ช้างได้อ่อนเเรงตายพร้อมกับหลวงปู่จันทร์ได้มรณภาพลงในส่าง ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาต่อหลวงปู่จันทร์ ได้ร่วมกันตั้งศาลขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกและกราบไหว้บูชา เรียกว่า"ดอนปู่จันทร์" การตั้งชื่อโดยอาศัยระบบนิเวศเพราะมีลักษณะเป็นป่าดอน เมื่อระยะเวลาผ่านไปกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่และมีผักหลอดเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกหนองน้ำนี้ว่า "หนองผักหลอด" หนองน้ำกลายเป็นแหล่งธรรมชาติอุดมสมบรูณ์ล่อเลี้ยงชาวบ้านในด้านการเลี้ยงชีพ การเกษตร และเลี้ยงสัตว์ จนถึงปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมา
เดิมมีบ้านเก่าแก่แห่งหนึ่ง ตั้งมาพร้อมเมืองชนบท และเมืองเพีย คือบ้านดอนมะค่า อยู่ทางทิศตะวันออกของหนองใหญ่ โดยมีหนองน้ำล้อมรอบ ปัจจุบันเป็นดอนปู่ตาหรือดอนแก้ว ต่อมาชาวบ้านได้ขยายชุมชน ไปสร้างบ้านเรือนสมทบกันชาวร้อยเอ็ดและชาวพยัคภูมิพิสัย กลุ่มเดียวกันกับพระอาจารย์โค้งและชาวบ้านที่มาสร้างบ้านลาน ชาวบ้านดอนมะค่าสันนิฐานว่าได้เกิดโรคระบาดไข้ทรพิษหรือโรคฟีดาษ ขึ้นที่ในหมู่บ้านในขณะนั้น เป็นเหตุให้ชาวบ้านอพยพหนีมาตั้งบ้านเรือนใหม่ ในเขตบ้านสร้างแป้นในปัจจุบัน
บ้านสร้างแป้นสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2335 โดยคณะครอบครัวที่อพยพมาตั้งบ้านเรือนในพื้นที่บ้านสร้างแป้น ได้แก่ ครอบครัวของนายอวย นางพา น้อยตำแย, นายหลาย นางพูน ไพรวงษา, นายชาม นางผาง จำปา, นายทำ นางมน พืชผักหวาน, และครอบครัวอื่นๆ รวม 14 ครอบครัว ตั้งหมู่บ้านใหม่ขึ้นมา และตกลงกันตั้งชื่อว่า"บ้านสร้างแป้นหรือบ้านส่างแป้น"
คำว่าสร้างแป้นน่าจะตรงกับคำว่า ส่าง ในภาษาอีสาน หมายถึงบ่อน้ำที่มีลักษณะไหลซึม โดยใช้ปีกไม้หรือแป้นตีเป็นคอกสี่เหลี่ยมกันไม่ให้ดินพัง บ่อน้ำในลักษณะนี้ภาษาอีสานเรียกว่าส่างแซง แต่ในที่นี้เรียกว่าสร้างแป้น ชาวบ้านในอดีตอาศัยน้ำจากส่างในการบริโภคเนื่องจากน้ำที่ไหลซึมออกมานั้นใสสะอาด ด้วยเหตุนี้คำว่า สร้าง จึงมีความพิเศษสามารถสื่อความหมายได้ 2 อย่าง ความหมายแรก หมายถึงบ่อน้ำภาษาถิ่นเรียกว่า ''ส่าง'' ความหมายที่สองหมายถึง"ช้าง" ภาษาถิ่นเรียกว่า ''ส้าง'' ดังนั้นสองคำที่ดังกล่าวมา จึงเขียนออกเป็นสร้าง จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านสร้างแป้น
ขอขอบคุณทุกคนที่มีส่วนร่วมจากภาพถ่ายจากกลุ่ม (Facebook บ้านสร้างแป้นหมู่1,12) ผมมองเห็นว่าภาพถ่ายสามารถนำมาสร้างเป็นระบบระเบียบและเรียบเรียงข้อมูลบันทึกความทรงจำประวัติศาตร์บ้านสร้างแป้น เพื่อให้ชนรุ่นหลังมีจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นอนุรักษ์สถานที่สาธารณะประโยชน์ รักษาจารีตประเพณีขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของชุมชนบ้านสร้างแป้นให้คงอยู่สืบไป
จัดทำโดย
โจ้
โจ้
บ้านสร้างแป้นมีตำนานเล่าต่อกันมาว่ามีพระสงฆ์ชื่อหลวงปู่จันทร์ขี่ช้างมาจากบ้านโนนลาน(บ้านลานปัจจุบัน)ผ่านเข้ามาในเขตหมู่บ้านสร้างแป้นออกไปทางทิศตะวันตกด้วยระยะทางไกลช้างหิวน้ำ หลวงปู่จันทร์จึงได้จูงลงกินน้ำลงในส่าง เหตุไม่คาดคิดช้างได้เกิดติดดุลหรือโคลนดินดูด ช้างได้อ่อนเเรงตายพร้อมกับหลวงปู่จันทร์ได้มรณภาพลงในส่าง ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาต่อหลวงปู่จันทร์ ได้ร่วมกันตั้งศาลขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกและกราบไหว้บูชา เรียกว่า"ดอนปู่จันทร์" การตั้งชื่อโดยอาศัยระบบนิเวศเพราะมีลักษณะเป็นป่าดอน เมื่อระยะเวลาผ่านไปกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่และมีผักหลอดเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกหนองน้ำนี้ว่า "หนองผักหลอด" หนองน้ำกลายเป็นแหล่งธรรมชาติอุดมสมบรูณ์ล่อเลี้ยงชาวบ้านในด้านการเลี้ยงชีพ การเกษตร และเลี้ยงสัตว์ จนถึงปัจจุบัน
สัมภาษณ์ พ่อบุญจันทร์ สุทธิ , 2556
เรียบเรียงข้อมูล นายสิทธิศักดิ กุลวงค์
เดิมมีบ้านเก่าแก่แห่งหนึ่ง ตั้งมาพร้อมเมืองชนบท และเมืองเพีย คือบ้านดอนมะค่า อยู่ทางทิศตะวันออกของหนองใหญ่ โดยมีหนองน้ำล้อมรอบ ปัจจุบันเป็นดอนปู่ตาหรือดอนแก้ว ต่อมาชาวบ้านได้ขยายชุมชน ไปสร้างบ้านเรือนสมทบกันชาวร้อยเอ็ดและชาวพยัคภูมิพิสัย กลุ่มเดียวกันกับพระอาจารย์โค้งและชาวบ้านที่มาสร้างบ้านลาน ชาวบ้านดอนมะค่าสันนิฐานว่าได้เกิดโรคระบาดไข้ทรพิษหรือโรคฟีดาษ ขึ้นที่ในหมู่บ้านในขณะนั้น เป็นเหตุให้ชาวบ้านอพยพหนีมาตั้งบ้านเรือนใหม่ ในเขตบ้านสร้างแป้นในปัจจุบัน
บ้านสร้างแป้นสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2335 โดยคณะครอบครัวที่อพยพมาตั้งบ้านเรือนในพื้นที่บ้านสร้างแป้น ได้แก่ ครอบครัวของนายอวย นางพา น้อยตำแย, นายหลาย นางพูน ไพรวงษา, นายชาม นางผาง จำปา, นายทำ นางมน พืชผักหวาน, และครอบครัวอื่นๆ รวม 14 ครอบครัว ตั้งหมู่บ้านใหม่ขึ้นมา และตกลงกันตั้งชื่อว่า"บ้านสร้างแป้นหรือบ้านส่างแป้น"
คำว่าสร้างแป้นน่าจะตรงกับคำว่า ส่าง ในภาษาอีสาน หมายถึงบ่อน้ำที่มีลักษณะไหลซึม โดยใช้ปีกไม้หรือแป้นตีเป็นคอกสี่เหลี่ยมกันไม่ให้ดินพัง บ่อน้ำในลักษณะนี้ภาษาอีสานเรียกว่าส่างแซง แต่ในที่นี้เรียกว่าสร้างแป้น ชาวบ้านในอดีตอาศัยน้ำจากส่างในการบริโภคเนื่องจากน้ำที่ไหลซึมออกมานั้นใสสะอาด ด้วยเหตุนี้คำว่า สร้าง จึงมีความพิเศษสามารถสื่อความหมายได้ 2 อย่าง ความหมายแรก หมายถึงบ่อน้ำภาษาถิ่นเรียกว่า ''ส่าง'' ความหมายที่สองหมายถึง"ช้าง" ภาษาถิ่นเรียกว่า ''ส้าง'' ดังนั้นสองคำที่ดังกล่าวมา จึงเขียนออกเป็นสร้าง จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านสร้างแป้น
อ้างอิงบุคคลจากภาพ จากซ้ายแถวที่ 2 นั่งที่ 3 พ่อ ทอง พืชผักหวาน
ลำดับการเปลี่ยนแปลงการปกครองในหมู่บ้าน
พ.ศ. 2343 บ้านสร้างแป้นอยู่ภายใต้การปกครองตำบทชนบถ (ปัจจุบันอำเภอชนบท)มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ นายอำ น้อยตำแย
ใน พ.ศ.2350 ชาวบ้านสร้างแป้นได้ขยับขยายพื้นที่ทำกินขึ้นไปทางทิศเหนือ อยู่ตามไร่นาของตน รวม 7- 8 ครอบครัว จนเติบโตขึ้นเป็นหมู่บ้านโดยตั้งชื่อว่าบ้านเหล่าผักหวาน สาเหตุที่เรียกว่าบ้านเหล่าผักหวาน เพราะจากการสันนิฐานว่าบริเวณนั้นเต็มไปด้วยป่าผักหวาน ถาษาอีสานเรียกว่าเหล่าหรือป่าเลยเรียกชื่อบ้านเหล่าผักหวานตามนั้น ต่อมาเหลือเพียง "บ้านผักหวาน" จนถึงปัจจุบัน
ใน พ.ศ.2350 ชาวบ้านสร้างแป้นได้ขยับขยายพื้นที่ทำกินขึ้นไปทางทิศเหนือ อยู่ตามไร่นาของตน รวม 7- 8 ครอบครัว จนเติบโตขึ้นเป็นหมู่บ้านโดยตั้งชื่อว่าบ้านเหล่าผักหวาน สาเหตุที่เรียกว่าบ้านเหล่าผักหวาน เพราะจากการสันนิฐานว่าบริเวณนั้นเต็มไปด้วยป่าผักหวาน ถาษาอีสานเรียกว่าเหล่าหรือป่าเลยเรียกชื่อบ้านเหล่าผักหวานตามนั้น
พ.ศ. 2457 ราชการได้มี พ.ร.บ การปกครองท้องที่ จัดการให้เป็นหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอเมืองชนบถ(ชนบถ) ได้รับการแต่งตั้งเป็นอำเภอชนบท บ้านแคนเหนือจึงได้เป็นตำบลแคนเหนือขึ้นครั้งแรก บ้านสร้างแป้นได้เข้าร่วมเขตปกครองของตำบลแคนเหนือ ตำบลเเคนเหนือมี ขุนมะที นันทกิจ เป็นกำนันคนเเรกและมียศเป็น ขุนแคนเหนือ ต่อมาตำบลแคนเหนือและตำบลเปือยน้อยแยกตัวออกมาจากอำเภอชนบท ไปขึ้นกับอำเภอพล
เมื่อ พ.ศ. 2471 บ้านไผ่ได้รับฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอบ้านไผ่ ได้รวมเอาตำบลต่างๆคือ ตำบลบ้านเกิ้ง ตำบลบ้านเป้า ตำบลเมืองเพียแยกมาจากอำเภอชนบท เนื่องจากไฟไหม้ที่ว่าการอำเภอชนบทในตอนนั้น ต่อมาตำบลเเคนเหนือและตำบลเปือยน้อยแยกมาจากอำเภอพล มาขึ้นกับกิ่งอำเภอบ้านไผ่ บ้านสร้างแป้นก็ยังอยู่ในเขตปกครองของตำบลเเคนเหนือเหมือนเดิม
ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ 2516 ทางราชการได้ยกฐานะบ้านลานขึ้นเป็นตำบลบ้านลาน โดยมีประกาศ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2516 บ้านสร้างแป้นจึงแยกออกจากตำบลบ้านแคนเหนือ มาขึ้นตำบลบ้านลานตั้งแต่นั้นมา
ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ 2516 ทางราชการได้ยกฐานะบ้านลานขึ้นเป็นตำบลบ้านลาน โดยมีประกาศ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2516 บ้านสร้างแป้นจึงแยกออกจากตำบลบ้านแคนเหนือ มาขึ้นตำบลบ้านลานตั้งแต่นั้นมา
เมื่อ พ.ศ.2527 บ้านสร้างแป้นมีประชากรเพิ่มขึ้น จึงได้ขอแยกหมู่บ้านออกเป็น 2 หมู่ คือ หมู่ 1 และหมู่ 12 โดยหมู่ 12 แยกออกจากหมู่ 1
สภาพปัจจุบัน
เมื่อความเจริญเข้ามาถึงหมู่บ้านสร้างแป้นได้มีงบประมาณจากทางรัฐบาล โดยทรัพยากรน้ำภาค 4 จังหวัดขอนแก่น กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูหนองผักหลอด งบประมาณ 29,745,447.00 บาท ทำการขุดลอกเมื่อ วันที่ กรฏาคม พ.ศ 2558 หลังจากทำการขุกลอกปรับภูมิทัศน์หนองผักหลอดได้เพียง 12 วัน วันที่ 15 กรฏาคม พ.ศ.2558 ทางเจ้าหน้าที่รับเหมาก่อสร้างได้เเจ้งผู้ใหญ่บ้านสร้างแป้นว่า ขุดพบกระดูกสัตว์ปริศนาขนาดใหญ่หลายชิ้น ชาวบ้านหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ากระดูกช้าง ทำให้เชื่อว่าตำนานนั้นมีอยู่จริง ชาวบ้านได้รวบรวมกระดูกช้างที่ศาลปู่ตา พร้อมกับสร้างรูปปั้นช้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่ชนรุ่นหลัง
หมายเหตุ : จากการขุดลอกหนองผักหลอด พบเพียงกระดูกช้าง เเต่ไม่พบกระดูกหลวงปู่จันทร์ ดังนั่นจึงสันนิฐานได้ว่า ชาวบ้านสร้างแป้นในสมัยนั้นน่าจะนำสังขาล(ศพ)หลวงปู่จันทร์ไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ตามจารีตและประเพณี
บ้านสร้างแป้น แบ่งออกเป็น 2 หมู่ได้แก่ หมู่ 1 และ 12 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่ ห่างออกมาประมาณ 10 กิโลเมตร ตามเส้นทางหนองน้ำใส- บ้านลาน มีเนื้อที่ประมาณ 2187.5 ไร่
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ทิศเหนือ จรดเขตพื้นที่บ้านผักหวาน
ทิศใต้ จรดเขตพื้นที่บ้านโคกโก
ทิศตะวันออก จรดเขตพื้นที่บ้านลาน
ทิศตะวันตก จรดพื้นที่บ้านดอนนาแพง
ลักษณะทางกายภาพ
ลักษณะทางกายภาพของชุมชนบ้านสร้างแป้น การตั้งถิ่นฐานในเขตพื้นที่ราบกว้างขวาง มีลำคลองและหนองน้ำในบริเวณใกล้เคียง พื้นที่ดังกล่าวเหมาะแก่การดำรงชีวิต นอกจากนั้นยังสะดวกในการหาอาหารจำพวกสัตว์และพืช ที่มีอยู่ในน้ำและบนบก
อ้างอิงจากหนังสือสืบฮอยบ้านตำนานเมืองอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น,โรงพิมพ์นันทศิลป์.2547
ที่มา. FB ลูกข้าวเหนียว น้องแจ็คพ๊อต
สภาพปัจจุบัน
เมื่อความเจริญเข้ามาถึงหมู่บ้านสร้างแป้นได้มีงบประมาณจากทางรัฐบาล โดยทรัพยากรน้ำภาค 4 จังหวัดขอนแก่น กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูหนองผักหลอด งบประมาณ 29,745,447.00 บาท ทำการขุดลอกเมื่อ วันที่ กรฏาคม พ.ศ 2558 หลังจากทำการขุกลอกปรับภูมิทัศน์หนองผักหลอดได้เพียง 12 วัน วันที่ 15 กรฏาคม พ.ศ.2558 ทางเจ้าหน้าที่รับเหมาก่อสร้างได้เเจ้งผู้ใหญ่บ้านสร้างแป้นว่า ขุดพบกระดูกสัตว์ปริศนาขนาดใหญ่หลายชิ้น ชาวบ้านหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ากระดูกช้าง ทำให้เชื่อว่าตำนานนั้นมีอยู่จริง ชาวบ้านได้รวบรวมกระดูกช้างที่ศาลปู่ตา พร้อมกับสร้างรูปปั้นช้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่ชนรุ่นหลัง
เรียบเรียงโดย นายสิทธิศักดิ์ กุลวงค์
สันนิฐานโดย : นายสิทธิศักดิ์ กุลวงค์
ที่มา FB : บ้านสร้างแป้น ม.1,12
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ทิศเหนือ จรดเขตพื้นที่บ้านผักหวาน
ทิศใต้ จรดเขตพื้นที่บ้านโคกโก
ทิศตะวันออก จรดเขตพื้นที่บ้านลาน
ทิศตะวันตก จรดพื้นที่บ้านดอนนาแพง
ลักษณะทางกายภาพ
ลักษณะทางกายภาพของชุมชนบ้านสร้างแป้น การตั้งถิ่นฐานในเขตพื้นที่ราบกว้างขวาง มีลำคลองและหนองน้ำในบริเวณใกล้เคียง พื้นที่ดังกล่าวเหมาะแก่การดำรงชีวิต นอกจากนั้นยังสะดวกในการหาอาหารจำพวกสัตว์และพืช ที่มีอยู่ในน้ำและบนบก
ภาพถ่ายดาวเทียม
บ้านสร้างแป้นมีประมาณ 300 หลังคาเรือน จำนวนประชากรทั้งหมดเป็นชาย700 คน หญิง 800คน รวม 1500 คน สำรวจเมื่อประมาณ พ.ศ.2547
การประกอบอาชีพ
ชาวบ้านสร้างแป้นประกอบอาชีพการเกษตร ส่วนใหญ่ ทำนาข้าว ไร่อ้อย ไร่มันสำประหลัง แลัรับจ้างทั่วไป
การประกอบอาชีพ
ชาวบ้านสร้างแป้นประกอบอาชีพการเกษตร ส่วนใหญ่ ทำนาข้าว ไร่อ้อย ไร่มันสำประหลัง แลัรับจ้างทั่วไป
การศึกษา
เดิมชาวบ้านสร้างแป้นเรียนที่วัด เปิดสอนใน.พ.ศ 2462 ต่อมาชุมชนบ้านสร้างแป้นมีโรงเรียนประจำหมู่บ้านชื่อ โรงเรียนบ้านสร้างแป้นดอนนาแพง ก่อสร้างเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2481 โดยเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
โรงเรียนบ้านสร้างแป้นดอนนาแพง
บ้านสร้างแป้นมีสถานีอนามัยบ้านสร้างแป้นประจำหมู่บ้าน ต่อมาทางราชการเปลี่ยนชื่อจากสถานีอนามัยเป็น ''โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสร้างแป้น'' โดยมี 4 หมู่บ้านที่ใช้บริการได้แก่ บ้านสร้างแป้น บ้านผักหวาน บ้าดอนนาแพง บ้านโนนสว่าง
รพ.สต.บ้านสร้างแป้น
ศาสนาและความแชื่อ
ศาสนา
1.วัด เดิมวัดบ้านสร้างแป้น ตั้งอยู่บริเวณต้นขามใหญ่ ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน จากนั้นย้ายวัดมาทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านในปัจจุบัน เลยเป็นที่มาของชื่อคุ้มซอย ตามที่เรียกกันว่า "คุ้มวัดเก่า"
ศาสนา
1.วัด เดิมวัดบ้านสร้างแป้น ตั้งอยู่บริเวณต้นขามใหญ่ ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน จากนั้นย้ายวัดมาทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านในปัจจุบัน เลยเป็นที่มาของชื่อคุ้มซอย ตามที่เรียกกันว่า "คุ้มวัดเก่า"
ชาวบ้านสร้างแป้นได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นมา เมื่อ พ.ศ 2437 (125ปี ) ชื่อ "วัดจำปา" ประชาชนยังมีความเชื่อความศรัทธาในหลักพระพุทธศาสนาอยู่ดี ชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างอุโบสถหลังเเรก ภาษาถิ่นเรียกว่า สิม
เมื่อประมาณ พ.ศ. 2536 ชาวบ้านสร้างแป้นได้ระดมทุนสร้างอุโบสถหลังใหม่ แทนหลังเดิม เนื่องจากสถานที่คับแคบไม่สามารถรองรับชาวบ้านในการประกอบพิธีกรรมศาสนาได้
ต่อมา พ.ศ. 2540 ชาวบ้านสร้างแป้นได้ระดมทุนโดยจัดตั้งผ้าป่าสามัคคี เพื่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ ทดแทนหลังเดิมที่สร้างด้วยไม้เพราะมีการทรุดโทรม เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางสงฆ์และฆราวาส
2.พระพุทธรูปประจำหมู่บ้าน คือ หลวงปู่ฮัง ประวัติหลวงปู่ฮังตามคำบอกเล่ากล่าวว่าเป็นพระพุทธรูปทำจากไม้ มีอายุประมาณ 107 ปี หลวงปู่ฮังเป็นพระคู่บ้านเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจชาวบ้านสร้างแป้น ปัจจุบันหลวงปู่ฮังประดิษฐาน ณ วิหาร วัดจำปาบ้านสร้างเเป้น
เจ้าอาวาสวัดจำปา โดยเรียงลำดับ ดังนี้
เมื่อประมาณ พ.ศ. 2536 ชาวบ้านสร้างแป้นได้ระดมทุนสร้างอุโบสถหลังใหม่ แทนหลังเดิม เนื่องจากสถานที่คับแคบไม่สามารถรองรับชาวบ้านในการประกอบพิธีกรรมศาสนาได้
ต่อมา พ.ศ. 2540 ชาวบ้านสร้างแป้นได้ระดมทุนโดยจัดตั้งผ้าป่าสามัคคี เพื่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ ทดแทนหลังเดิมที่สร้างด้วยไม้เพราะมีการทรุดโทรม เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางสงฆ์และฆราวาส
2.พระพุทธรูปประจำหมู่บ้าน คือ หลวงปู่ฮัง ประวัติหลวงปู่ฮังตามคำบอกเล่ากล่าวว่าเป็นพระพุทธรูปทำจากไม้ มีอายุประมาณ 107 ปี หลวงปู่ฮังเป็นพระคู่บ้านเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจชาวบ้านสร้างแป้น ปัจจุบันหลวงปู่ฮังประดิษฐาน ณ วิหาร วัดจำปาบ้านสร้างเเป้น
เจ้าอาวาสวัดจำปา โดยเรียงลำดับ ดังนี้
1.หลวงพ่อคำสอน
2.พระครูพิศาลจันโทภาส [พระมหาปิยณัฐ สิริจนฺโท] พศ.2551- (ปัจจุบัน)
การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของคนบ้านสร้างแป้น
หลวงปู่ฮัง
ความเชื่อ : ชาวบ้านยังมีความเชื่อเรื่องไสยศาตร์ และมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์ดอนปู่ตา เช่น หากท่านใดต้องการ เลื่อนตำแหน่งทางด้านอาชีพ หน้าที่ การงาน ก็จะไปบนบาน บอกกล่าวดอนปู่ตา เมื่อสมปราถนาแล้ว โดยสิ่งที่นำมาแก้บนได้แก่ ช้าง ม้า และผ้าเจ็ดสี
1.ปู่ตาดอนแก้ว ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกหมู่บ้าน เป็นศาลประจำหมู่บ้านสถานที่กราบไหว้สักการะบูชา พร้อมกันนั้นมีต้นสำโรงใหญ่อายุราว 100 ปี ก่อนลงทำนาชาวบ้านมีพิธีกรรมเรียกว่าเลี้ยงปู่ตาเป็นการปลุกขวัญกำลังใจในการทำนาพร้อมกับเสี่ยงทายบั้งไฟและลิ้นไก่ต้ม ซึ่งระยะเวลาใกล้เคียงกับพิธีพระนังคัลแรกนาขวัญในท้องสนามหลวง
2.ดอนปู่จันทร์ หรือดอนปู่ตาหนองผักหลอด สาเหตุที่เรียกว่าดอน เพราะระบบนิเวศมีลักษณะเป็นป่าดอน ชาวบ้านจึงเรียกว่า ดอนปู่จันทร์ ต่อมาเหลือเพียง ดอนปู่ตาตาหนองผักหลอด เป็นศาลประจำหมู่บ้านสร้างแป้น ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ติดกับริมหนองผักหลอด
การสักการะบูชา
การบูชาหลวงปู่ฮัง, หลวงปู่ตาดอนแก้ว, และดอนปู่ตาหลองผักหลอด นั้นจัดขึ้นในเดือนเมษายน ซึ่งตรงกับเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี นำโดยพ่อจ้ำ สิ่งของที่นำมาบูชาได้แก่ ดอกไม้ ธูป เทียน น้ำอบน้ำหอม ผ้าเจ็ดสี ช้างม้า วัว ควาย
2.ดอนปู่จันทร์ หรือดอนปู่ตาหนองผักหลอด สาเหตุที่เรียกว่าดอน เพราะระบบนิเวศมีลักษณะเป็นป่าดอน ชาวบ้านจึงเรียกว่า ดอนปู่จันทร์ ต่อมาเหลือเพียง ดอนปู่ตาตาหนองผักหลอด เป็นศาลประจำหมู่บ้านสร้างแป้น ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ติดกับริมหนองผักหลอด
การสักการะบูชา
การบูชาหลวงปู่ฮัง, หลวงปู่ตาดอนแก้ว, และดอนปู่ตาหลองผักหลอด นั้นจัดขึ้นในเดือนเมษายน ซึ่งตรงกับเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี นำโดยพ่อจ้ำ สิ่งของที่นำมาบูชาได้แก่ ดอกไม้ ธูป เทียน น้ำอบน้ำหอม ผ้าเจ็ดสี ช้างม้า วัว ควาย
*****************************************************
ผู้ร่วมสืบค้นประวัติ 1.นายจำปี ทิทา อายุ 72 ปี
2.นายคำดี ไสวงาม อายุ 52 ปี
3.นายเจริญ สมีเเจ้ง อายุ 63 ปี
อ้างอิงจากหนังสือสืบฮอยบ้านตำนานเมืองอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น,โรงพิมพ์นันทศิลป์.2547
อ้างอิง
- สัมภาษณ์ นายบุญจันทร์ สุทธิ พศ.2556
- หนังสือสืบฮอยบ้าน ตำนานเมือง ประวัติอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น,โรงพิมพ์นันทศิลป์.2547
*******************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น