วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563

ประเพณีวัฒนธรรมและดำเนินชีวิต

ประเพณีวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิต


1.ประเพณี  

ชุมชนบ้านสร้างแป้นสืบทอดมาประเพณีตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยผู้เขียนขอยกเอาประประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ในชุมชนมี ดังนี้

      1.1 ประเพณีทำบุญบ้าน ประเพณีบุญบ้านหรือบุญเบิกบ้าน มักจะเห็นในช่วงเดือนเจ็ด นิมนต์พระสงฆ์ 7-8 รูป ตักบาตรในตอนเช้า พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตราหารเช้า พระสงฆ์พรมน้ำมนต์เพื่อเป็นศิริมงคล นำกรวดทรายจากการทำพิธีแจกจ่ายชาวบ้านเพื่อไปว่านรอบบ้านปัดสิ่งชั่วร้าย 
 
ขอบคุณภาพจาก / Yossra Stye Freedomlife.

      1.2. ประเพณีบุญข้าวเฉียบ-ข้าวจี่ วันตรงกับเพ็ญแรม1ค่ำเดือน3 ข้าวจี่ เป็นการทำบุญในวันมาฆบูชา ข้าวเฉียบทำจากข้าวเหนียวนึ่งตำละเอียดด้วยครกกระเดื่องโดยมีส่วนผสมกับรากต้นกระโหม ภาษาถิ่นเรียกว่าเครือตดหมาน้ำมันหมูและไข่แดงต้มสุก ผ่านการแปรรูปเป็นแผ่นแล้วย่างไฟให้สุก ส่วนข้าวจี่คือข้าวเหนียวย่างไฟแล้วทาด้วยไข่ สีเหลืองทอง 


ขอบคุณภาพจาก / Yossra Stye Freedomlife.

      1.3. ประเพณีเลี้ยงปู่ตา จัดขึ้นหลังจากพิธีพระนังคลันแรกนาขวัญในท้องสนามหลวง ตรงกับแรม (4 ค่ำเดือน 6 ) หรือ (ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6)ซึ่งมีความเชื่อคล้ายกันกับประเพณีเลี้ยงปู่ตา เป็นการปลุกขวัญกำลังใจในการทำนา โดยนิมนต์พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์และถวายเพล พ่อจ้ำทำการเสี่ยงทายจากลิ้นไก่และบั้งไฟ 
ขอบคุณภาพจาก / Mang jizon
      
1.4. ประเพณีเลี้ยงนา การเลี้ยงนาหรือเลี้ยงผีตาแฮก ชาวบ้านสร้างแป้นมีความเชื่อว่าผีตาแฮกเป็นผู้รักษาพื้นนาให้อุดมสมบรูณ์ เพื่อให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้มาก การเลี้ยงนานั้น มีของสำคัญดังนี้  ข้าวเหนียว ไก่ต้มสุก เหล้าขาว 1 ขวด ดอกไม้ ธูป เทียน บุหรี่ หมาก พลู กล้วย และอาหารประเภทของหวาน การเลี้ยงนาจัดขึ้น2ครั้ง ในเดือนหกก่อนการลงนา เพื่อบอกกล่าวเมื่อถึงฤดูทำนา และหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต.  

      1.5. ประเพณีแห่ดอกพยอม ประเพณีแห่ดอกพยอม เป็นความเชื่อดั้งเดิมของชุมชนบ้านสร้างแป้นสืบทอดกันมาตั้งเเต่บรรพบุรุษ(ภาษาถิ่นเรียกว่า"แห่ดอกกะยอม") จัดขึ้นในเดือน 3 ในฤดูดอกพยอมผลิดอก ก่อนวันมาฆบูชาหนึ่งวัน ใกล้เวลาค่ำพ่อจ้ำประกาศเชิญชวนชาวบ้าน พร้อมกับตีฆ้องบอกเป็นสัญญาณในการรวมตัว แล้วออกไปยังต้นพยอมตามท้องนา พ่อจ้ำทำพิธีขอดอกพยอมตามคติความเชื่อ ดอกไม้5คู่ เงิน5 บาท หรือขันต์ 5 เมื่อเก็บดอกพยอมได้ครบทุกคนแล้วเดินทางกลับตีฆ้องเป็นระยะ จังหวะเดียวกันพ่อจ้ำจะร้องเฮอะเฮอะสองครั้ง จากนั้นคนในขบวนแห่ร้องฮิ้วตอบรับ เมื่อถึงวัดแห่รอบศาลา3รอบ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ พ่อจ้ำถวายดอกพยอมเป็นอันเสร็จพิธี 


 
ขอบคุณภาพจาก / Yossra Stye Freedomlife.

      1.6. ประเพณีทอดเทียน ชุมชนบ้านสร้างแป้นจัดประเพณีทอดเทียนในช่วงเข้าพรรษา ประเพณีทอดเทียน (ภาษาถิ่นเรียกว่าทอดเทียนโฮม) เป็นประเพณีตามฮีต 12 ครอง 14 ของชาวอีสาน อดีตไม่มีไฟฟ้าใช้ชาวบ้านมักจะมีการหล่อเทียนพรรษา(ทอดเทียน) เพื่อถวายพระใช้ในการจำพรรษาของพระสงฆ์ในการทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็น ปัจจุบันไฟฟ้าเข้ามามีบทบาท การหล่อเทียนจึงไม่ค่อยเห็น พุทธศาสนิกชนมักจะถวายหลอดไฟแทนการถวายเทียนเป็นการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย 

      1.7. ประเพณีแห่ข้าวพันก้อน(ออกพรรษา) ชาวบ้านสร้างแป้นจัดขึ้นในช่วงวันออกพรรษา 

      1.8. ประเพณีสรงน้ำดอนปู่ตา (สงกรานต์) ประเพณีสรงน้ำดอนปู่ตา ตรงกับ วันที่ 15 เมษายน หรือเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี นำโดยพ่อจ้ำ ชาวบ้านสร้างแป้นและชาวบ้านดอนนาแพง 
ขอบคุณภาพจาก / Yossra Stye Freedomlife.

1.9 ประเพณีสู่ขวัญข้าว ชาวบ้านสร้างแป้น มีประเพณีสู่ขวัญข้าวสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ หลังฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต ผู้นำชาวบ้านสร้างแป้นจะประกาศบอกลูกบ้าน ให้เตรียมข้าวเปลือกจากบ้านมารวมกันที่ลานวัด ตามจิตศรัทธาของแต่ละบุคคล เพื่อทำพิธีสู่ขวัญข้าว โดยการสร้างขวัญกำลังใจกับชาวนา และเป็นการเคารพบูชาพระเเม่โพสพ ชาวบ้านสร้างแป้นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระเเม่โพสพ เพื่อให้ข้าวอุดมสมบรูณ์และได้ผลผลิตทุกปี 


ขอบคุณภาพจาก / Yossra Stye Freedomlife.
 
1.10 ประเพณีทอดกฐิน ชุมชนบ้านสร้างแป้นมีความเชื่อว่า ประเพณีทอดกฐินเป็นบุญที่มีอานิสงฆ์อย่างแรง เพราะปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว และยังเป็นการบอกบุญแก่ญาติมิตรให้มาร่วมทำบุญทำกุศลในครั้งนี้  

  

ประเพณีทอดกฐิน 
ขอบคุณภาพจาก / Yossra Stye Freedomlife.


2.วัฒนธรรม 

ชุมชนบ้านสร้างแป้นมีวัฒนธรรมอันดีงามสืบทอดกันมาตั้งเเต่บรรพบุรษ โดยผู้เขียนยกเอาวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ที่พบในชุมชนบ้านสร้างแป้นมีดังนี้ 

      2.1. วัฒนธรรมการร้องสรภัญญะ  
การร้องสรภัญญะเป็นทำนองสวดฉันท์ เป็นทำนองแบบสังโยค สวดเป็นจังหวะหยุดตามรูปประโยคฉันทลักษณ์มักใช้สวดบทบูชาพระรัตนตรัย เนื้อหาส่วนใหญ่การร้องจะเกี่ยวพันธ์กับวิถีชาวพุทธศาสนา และชีวิตประวันของชาวอีสาน ซึ่งจะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมไว้ในบทกลอนสรภัญญะ เช่น กลอนนางมัทรี กลอนถวายพระพร ร.9 และกลอนค่าน้ำนม กลอนพระคุณแม่ เป็นต้น  
การประกวดร้องสรภัญญะ  อบต.บ้านลาน

      2.2. วัฒนธรรมการฟ้อนรำ 
การฟ้อนรำพบได้ทุกภาคของไทยเป็นศิลปะพื้นบ้าน การฟ้อนรำกล่าวได้ว่าเป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมอันดีงาม ที่มีลักษณะเฉพาะ การแต่งกาย จังหวะ ลีลา ท่าทางการฟ้อนรำเพลงดนตรีที่ใช้ประกอบมักจะเป็นดนตรีทางภาคอีสาน ชุมชนบ้านสร้างแป้นพบการฟ้อนรำเนื่องในโอกาสต่างๆ เช่น ฟ้อนงานบุญ ฟ้อนรำหน้านาค รำบวงสวง รำบายศรีสู่ขวัญ รำแก้บน และบุญบั้งไฟหรือที่เรียกว่าการเซิ้งบั้งไฟ โดยจะมีวงมโหรี วงกลองยาวเป็นต้น ทั้งนี้การฟ้อนรำยังมีคติความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาโรค ป่วย ไข้ เรียกว่ารำผีฟ้า 


ขอบคุณภาพจาก / Yossra Stye Freedomlife.


      2.3. วัฒนธรรมขนทรายเข้าวัด การขนทรายเข้าวัดในชุมชนบ้านสร้างแป้น พบได้ในเทศกาลสงกรานต์ โดยคติความเชื่อการขนทรายเข้าวัดจะได้บุญผลาอานิสงฆ์เพิ่มม่กขึ้น 

      2.4. วัฒนธรรมการผูกข้อมือ  การผูกข้อมือพบทั่วไปในเขตภูมิภาคอีสาน เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน การผูกข้อมือเกิดขึ้นในงานพิธีต่างๆ เช่น งานบุญเบิกบ้าน งานเเต่ง งานบวช บายศรีสู่ขวัญ งานรับราชการ งานขึ้นบ้านใหม่ และการผูกเสี่ยวพบได้ในเขตจังหวัดขอนแก่น การผูกข้อมือนั้นเป็นความเชื่ออีกอย่างนึ่งเพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข อายุยืนยาว แคล้วคลาดปลอดภัยจากอุบัติภัยและภูตผีปีศาจ

      2.5. วัฒนธรรมการห่อข้าวต้ม การห่อข้าวต้มของชาวบ้านสร้างแป้นสืบทอดกันมา การห่อข้าวต้มเนื่องในโอกาสต่างๆ เช่น บุญสาทเดือนสิบ งานทำบุญ งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่เป็นต้น โดยชาวบ้านนิยมห่อข้าวต้มทำ 3 แบบได้แก่ ข้าวต้มเม็ด ข้าวต้มแหลก และข้าวต้มผัด


 




3.วิถีชีวิต

วิถีชีวิตคนในชุมชนบ้านสร้างแป้นนั้น มีลักษณะเรียบง่าย  โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเกษตรกรรม ด้านดนตรี ด้านการเลี้ยงสัตว์ ด้านหัตถกรรม   ดังนี้
   3.1.ด้านการเกษตรกรรม ชาวบ้านสร้างแป้นประกอบอาชีพทางการเกษตร พืชส่วนใหญ่เป็นข้าว อ้อย มันสำปะหลัง มันเทศ และผักสวนครัว

ภาพการทำนา

3.2.ด้านการดนตรี  ชาวบ้านสร้างแป้นมีภูมิปัญญาทางด้านเครื่องดนตรีอีสาน โดยจำแนกประเภทเครื่องดนตรีได้ 3 ประเภทดังนี้ 
       1. เครื่องดนตรีประเภทดีด พิณ ผู้เชี่ยวชาญ พ่อหนา  พืชผักหวาน
       2. เครื่องดนตรีประเภทตี กลองยาว ผู้เชี่ยวชาญ พ่อสาย ภาวะโคตร 
       3. เครื่องดนตรีประเภทเป่า แคน ผู้เชี่ยวชาญ พ่อสังวร จ่าบาล
       
         อดีตบ้านสร้างแป้นมีเครื่องดนตรีประจำหมู่บ้าน คือกลองยาวเห็นได้ในช่วงออกพรรษาจะมีการแห่ผ้าป่าโดยมีวงกลองยาวด้านหน้าขบวน ปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเครื่องดนตรีและประยุกต์กับดนตรีสากล กลายเป็นวงกลองยาวประยุกต์ หรือเรียกว่า " วงมโหรี

ภาพวงกลองยาว
ขอบคุณภาพ : นายสุธรรม ละครชัย

วงกลองยาวประยุกต์


3.ด้านการเลี้ยงสัตว์  ชาวบ้านสร้างแป้นนิยมเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม สัตว์ที่พบ ได้ แก่ วัว ควาย หมู ไก่ และปลา ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้เพื่อบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้เสริม  




ภาพการเลี้ยงสัตว์


3.4.ด้านศิลปหัตถกรรม ชาวบ้านสร้างแป้นมีภูมิปัญญาทางด้านฝีมือศิลปหัตถกรรม โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สิ่งทอและเครื่องจักสาน มีดังนี้ 
      1. สิ่งทอ ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าขาวม้า ผ้าห่มฝ้าย ผ้าโสล่ง และเสื่อต้นกก การทอโดยนิยมทำในช่วงข้าวตั้งท้องและหลังจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าว 
 
ภาพการเตรียมย้อมไหม

ภาพการทอผ้าขาวม้า

ภาพการทอเสื่อต้นกก

  2. เครื่องจักสาน  ชาวบ้านสร้างแป้นนับว่ามีฝีมือด้านการจักสาน เครื่องจกรสานที่พบ ได้แก่ ตระกร้า กระติบข้าว กระด้ง กระจาดใส่ตัวไหม เครื่องดักจับสัตว์ สวิง ค้อง ไซร์ ลอบ แห ตาข่าย สุ่มไก่ คอบปากวัว ฝาบ้าน  



ภาพการจักรสาน



*************************************************




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น